แนะนำ 4 สายพันธุ์ยีสต์สำหรับทำคราฟเบียร์ไทย

ยีสต์ คือหนึ่งในส่วนประกอบหลักของการทำคราฟเบียร์ไทยที่ขาดไม่ได้ เพราะนับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดแอลกอฮอล์, สีของเบียร์, กลิ่นหอมๆ และอื่นๆ จากการถูกหมักร่วมกับน้ำวอร์ทที่ผ่านกระบวนการบริวเดย์จากมอลต์ และฮอปส์ ดังนั้นการเลือกยีสต์จึงเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์เบียร์ที่ตรงตามความต้องการของคุณ ดังนั้นการเลือกสายพันธุ์ของยีสต์ที่เหมาะสมก็จะทำให้คุณมีแนวทางในการทำเบียร์ที่ชัดเจน

เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์คราฟเบียร์ไทยแก่ผู้ผลิตหน้าใหม่ ในบทความนี้ก็จะมาแนะนำให้คุณได้รู้จักกับ 4 พันธุ์ยีสต์ที่น่าสนใจสำหรับการทำเบียร์โดยเฉพาะ

แนะนำ 4 สายพันธุ์ยีสต์ที่น่าสนใจสำหรับการทำคราฟเบียร์ไทย

สำหรับสายพันธุ์ของยีสต์ที่ถูกนำมาใช้ทำเบียร์นั้นโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 พันธุ์หลักๆ คือ เอลยีสต์ (Ale yeast - Saccharomyces cerevisiae) และ ลาเกอร์ยีสต์ (Lager yeast - Saccharomyces Uvarum) โดยทั้งคู่มักจะเป็นจุดเริ่มต้นหลักของการสร้างสูตรใหม่ๆ ของวงการเบียร์ทั้งหมด ส่วนสายพันธุ์นอกจากนี้จะเป็นการปรับปรุงสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับเบียร์แต่ละประเภทมากขึ้น

1.ลาเกอร์ (Lager yeast - Saccharomyces Uvarum)

เป็นยีสต์สายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดเป็นเบียร์ประเภทลาเกอร์ขึ้นมา ถูกหมักด้วยกรรมวิธีแบบนอนก้น (Bottom-fermenting yeast) ด้วยอุณหภูมิที่เย็นในช่วง 10–13 °C ผลลัพธ์ที่ได้คือความ Crips และความ Clean มีกลิ่นที่จางกว่าเบียร์ที่หมักด้วยยีสต์ประเภทอื่นๆ ด้วยเอกลักษณ์ของลาเกอร์ทำให้เป็นที่นิยมจากทั้งผู้ผลิตรายใหญ่และผู้ผลิตคราฟเบียร์ไทยรายย่อย

2.เอล (Ale yeast - Saccharomyces cerevisiae)

เมื่อมีลาเกอร์แล้วก็ต้อง “เอล” เพราะเป็น 1 ใน 2 สายพันธุ์หลักที่ตีคู่กันมา โดยเอลจะเป็นยีสต์ที่ถูกหมักด้วยวิธีลอยผิว (Top-fermenting yeast) ในอุณหภูมิช่วง 18-24 °C ทำให้ได้รสชาติที่ออกไปทางหวาน ให้สีสันที่แตกต่างกันออกไปตามการปรุงแต่งในแต่ละสูตร มีตั้งแต่สีเหลืองทองไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ถือเป็นยีสต์ประเภทหลักที่ผู้ผลิตทั้งรายใหญ่และคราฟเบียร์ไทยรายย่อยนิยมเป็นอย่างมาก

3.เบลเยียม ยีสต์ (Belgian Yeast Strains)

เบลเยียม ยีสต์ เป็นยีสต์พันธุ์ผสมที่ไม่ได้มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจน เพราะมีการสันนิษฐานกันว่าเกิดขึ้นจากผู้ผลิตเบียร์จากฝั่งเบลเยียมที่ได้มีการนำยีสต์หลากหลายสายพันธุ์มาใช้ จนกลายเป็นเบลเยียม ยีสต์ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองขึ้นมา โดยการนำเบลเยียม ยีสต์มาใช้นั้น มักจะต้องมีไอเดียในการหมักลงไปด้วย เช่น การนำวัตถุดิบต่างๆ หรือยีสต์ตัวอื่นๆ มาใช้ร่วมด้วยเพื่อให้เกิดรูป-รส-กลิ่น-สี ที่ต้องการ

4.วีทเบียร์ ยีสต์ (Wheat Beer Yeast)

เดิมที่แล้ววีทเบียร์ (Wheat Beer) นั้นเป็น 1 ในเบียร์ที่ประเภทเอล ที่เป็นยีสต์แบบ Top-fermenting หรือหมักแบบลอยผิว แต่ถ้าคุณต้องการชาติที่มาจากข้าวสาลีแท้ๆ วีทเบียร์ ยีสต์คือวัตถุดิบเฉพาะที่อุดมไปด้วยข้าวสาลีหลากหลายชนิดจากยุโรป ซึ่งในแต่ละแบรนด์ก็จะมีการเลือกใช้ข้าวสาลีที่ต่างชนิดกันออกไป โดยยีสต์เฉพาะกลุ่มตัวนี้เหมาะแก่การสร้างสรรค์ วีท เบียร์ (Wheat Beer) ที่ถูกต้องตามต้องการได้อย่างลงตัว

สำหรับการทำคราฟเบียร์ไทยนั้นวัตถุดิบนับเป็นหัวใจสำคัญที่ผู้ผลิตมองข้ามไปไม่ได้เลย เพราะถ้าคุณต้องการกำหนดรสสัมผัส สีสัน กลิ่น และบอดี้ของเบียร์ การเลือกยีสต์ มอลต์ และฮอปส์ ที่ตรงตามจินตนาการของคุณมากที่สุด ก็จะสามารถถ่ายทอดไอเดียหรือเอกลักษณ์ของคราฟเบียร์ไทยตามที่คุณต้องการได้